เขียน อริษา อุรุพงศา
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใหญ่ 160,000 คน จาก 31 ประเทศทั่วโลกพบว่า การเติบโตในบ้านที่มีชั้นหนังสือที่เต็มไปด้วยหนังสือ (อย่างน้อย 80 เล่ม) ส่งผลสำคัญต่อทักษะการอ่านเขียน คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีของเด็กในอนาคต
จากงานวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่ที่เติบโตในบ้านที่แวดล้อมไปด้วยหนังสือสามารถทำคะแนนในแบบทดสอบสมรรถะนานาชาติสำหรับผู้ใหญ่ (Programme for the International Assessment of Adult Competencies) ได้สูงกว่าผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เติบโตมาในบ้านที่แวดล้อมไปด้วยหนังสือ
ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นอีกว่า ระดับการศึกษาของพ่อแม่หรือระดับฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวไม่มีผลต่อคะแนน ซึ่งหมายความว่าเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่ยากจนมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จทางการศึกษาในวัยผู้ใหญ่ไม่ต่างจากเด็กที่เติบโตในความครัวที่ร่ำรวย ตราบใดที่ในบ้านของพวกเขามีชั้นหนังสือที่เต็มไปด้วยหนังสือ
งานวิจัยนี้พูดถึงแค่การ “แวดล้อม” ไปด้วยหนังสือเท่านั้น ยังไม่ได้พูดถึงประโยชน์ของการ “อ่านหนังสือ” ด้วยซ้ำ ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเด็กคนหนึ่งได้เติบโตมาในครอบครัวที่ทั้งรัก “การมีหนังสือ” และ รัก “การอ่านหนังสือ” ด้วยจะเกิดประโยชน์มหาศาลเพียงใด
บางที…การมีนโยบายสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงหนังสือและการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านที่แข็งแกร่งอาจเป็นหนทางหนึ่งไปสู่ความเท่าเทียมทางการศึกษาก็เป็นได้
อ้างอิง
M.D.R. Evans, Jonathan Kelley, Joanna Sikora. Scholarly culture: How books in adolescence enhance adult literacy, numeracy and technology skills in 31 societies. Social Science Research, 2019; DOI: